“ฟันกราม” คือฟันที่มีซี่ขนาดใหญ่อยู่ด้างในของช่องปาก ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าฟันกรามคือฟันซี่ไหน แล้วการถอนฟันกรามจะเจ็บหรือเป็นอันตรายไหม วันนี้เรามาทำความรู้จักฟันกรามและการถอนฟันกรามกันคะ
ฟันกรามคือฟันซี่ไหน?
ฟันกราม (Molar Tooth) คือ ฟันที่งอกขึ้นอยู่ท้ายสุดของแถวฟัน ทั้งแถวบนและแถวล่าง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงกว่าฟันซี่อื่น ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร และเนื่องจากฟันกรามเป็นฟันแท้ ถ้าหักหรือถอนไปแล้วจึงไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่ทดแทนฟันซี่เดิม โดยฟันกรามแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.ฟันกรามน้อย (Premolar Teeth)
ฟันกรามน้อย ลักษณะของฟันกรามน้อยจะมีรูปร่างกลมและเล็กกว่าฟันกรามธรรมดา ทำหน้าที่ฉีกอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ และบดเคี้ย;อาหาร มีจำนวน 8 ซี่ บน 4 ซี่ ล่าง 4 ซี่
2.ฟันกรามธรรมดา (Molar Teeth)
ฟันกรามธรรมดา มีหน้าที่หลักคือการบดเคี้ยวอาหาร มีจำนวน 12 ซี่ บน 6 ซี่ ล่าง 6 ซี่ โดยจะนับจากซี่ในสุดเป็นฟันกรามซี่ที่ 3 เรียงออกมาฝั่งละ 3 ซี่ แล้วก็ต่อด้วยฟันกรามน้อยซี่ที่ 2
การถอนฟันกรามทิ้งมีอันตรายไหมและส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่?
ฟันกรามทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร หากเราถอนฟันกรามออก จำทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้
มีกรณีที่ต้องะถอนฟันกรามหรือไม่?
ในกรณีที่ต้องการจัดฟันแล้วไม่มีพื้นที่ในช่องปากให้ฟันเคลื่อนเรียงตัว ก็จำเป็นต้องถอนฟันกรามน้อยซีแรก(หลังฟันเขี้ยว) หรือฟันผุมากจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
ดูแลรักษาฟันกรามอย่างไร?
สำหรับการดูแลรักษา ก็จะเป็นการทำความสะอาดช่องปากปกติที่ทำกันทุกวัน คือ ใช้ไหมขัดฟันพร้อมกันกับแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า กับ ก่อนนอน อย่างไรก็ตามแนะนำให้พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากโดยร่วม และขูดหินปูน
ขั้นตอนการถอนฟันกราม
การถอนฟันกรามคล้ายกับการถอนฟันซี่อื่นๆ แต่แพทย์อาจจะทำการเอกซเรย์ฟันเพื่อประเมินระดับความยากของการถอน ว่าต้องส่งให้ศัลยแพทย์ช่องปากหรือจำเป็นต้องไปถอนฟันกรามที่โรงพยาบาล หลังจากถอนฟันแล้วแพทย์อาจจะเย็บปิดขอบเหงือกเหนือแผลโดยใช้ไหมละลาย
ฟันกรามมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร หากจำเป็นต้องถอนออกอาจทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวลดลง ดังนั้นถ้าไม่อยากสูญเสียฟันควรหมั่นดูแลฟันและสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ