วิธีป้องกันอาการหลังค่อม

หลังค่อม หมายถึงอาการของบุคคลที่มีความผิดปกติ ที่โค้งนูนออกมาจากบริเวณกระดูดสันหลัง โดยที่อาการที่เกิดขึ้นในบางรายจะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาการร่วมต่าง ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นมาได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น มีความรู้สึกปวด หรือตึงบริเวณหลัง เจ็บตรงบริเวณของกระดูกสันหลัง

ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นของคนที่มีอาการหลังค่อมนั่นก็คือ จะทำให้มีความยากลำบากเวลาที่รับประทานอาหาร หรือหายใจ ได้นั่นเอง โดยที่สาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดอาการหลังค่อมนั้นก็คือ การพัฒนาที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังโดยตรง ตั้งแต่ในช่วงทารกที่อยู่ภายในครรภ์มารดา หรือการทำร้ายสุขภาพของกระดูกสันหลังด้วยการทำท่าทางที่ผิดแปลก ที่ไม่อยู่ในอิริยาบถที่ถูกต้องนั่นเอง ซึ่งบางรายก็เกิดขึ้นมาจากสาเหตุความเสื่อมของกระดูกสันหลังตามวัย โดยที่ส่วนใหญ่มักจะพบได้ในเว็บวัยรุ่น และวัยสูงอายุเป็นหลัก

อาการหลังค่อมจะมีอาการที่สังเกตได้ชัดเจนนั่นก็คือ ลักษณะที่ผิดแปลกของหลัง ที่จะมีหลังที่โค้ง และนูน มากกว่าปกติ โดยที่ปกติแล้วกระดูกสันหลังโดยทั่วไปจะมีลักษณะที่โค้งตามธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 20 – 45 องศา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหลังค่อมนั้น จะมีความโค้งของกระดูกสันหลังอยู่ที่ประมาณ 50 องศาขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยที่บางคนจะมีอาการโค้งที่แทบจะก้มหลังอยู่ตลอดเวลา โดยที่ผู้ที่มีอาการหลังค่อมมักจะมีอาการอื่น ๆ แทรกเข้ามาอยู่ร่วมด้วย

โดยที่จะขึ้นอยู่กับสาเหตุ และองศาความโค้งของหลังที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ที่จะแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ไหล่ห่อไปทางด้านหน้า จะรู้สึกปวก หรือตึงบริเวณหลัง จะรู้สึกเจ็บที่บริเวณกระดูกสันหลัง หรือเมื่อยล้าเสมอ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่รุนแรงนั้น อาจจะเกิดอาการที่ยากลำบากเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่กำลังรับประทานอาหาร หรือในช่วงที่หายใน โดยที่ปกติแล้วอาการหลังค่อมนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็ก หรือวัยรุ่น ซึ่งช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่มีการพัฒนาของกระดูกที่เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าหากว่ามีการพบเจอว่าลูกหลานของท่านมีกระดูดสันหลังตอนบนที่โค้งนูนมากกว่าปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และวิธีการรักษาโดยเร็วที่สุด

การป้องกันอาการหลังค่อม

อาการหลังค่อมนั้นสามารถป้องกันได้โดยการอยู่ในอิริยาบถที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะไม่ทำลายสุขภาพของกระดูกสันหลัง โดยมีแนวทางปฏิบัติได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • นั่งหรือยืนในท่าทางที่ถูกต้อง เช่น หลังตรง ไม่ห่อตัว อกผาย ไหล่ผึ่ง
  • หลีกเลี่ยงการสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมาก
  • เพิ่มความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อหลัง ท้อง และหน้าอก เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ช่วยพยุงกระดูกสันหลัง